
1). ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด :
วิธีนี้ทำให้ สะดุดตา และจำง่าย ให้ความรู้สึกเข้มแข็ง ดูโดดเด่น มีพลัง เช่น FORD, NETFLIX, GRAB, SCB, KTC, CIMBTHAI, LINE ข้อควรระวังคือ เทคนิคนี้ ไม่เหมาะกับชื่อแบรนด์ที่มีความยาวมากกว่า 3 พยางค์ ขึ้นไป อาจทำให้ลูกค้าอ่านยาก และจำได้ยาก
2). ใช้ตัวใหญ่ขึ้นต้น ตามด้วยตัวเล็ก ในแต่ละคำของชื่อแบรนด์ :
การเขียนแบบนี้จะทำให้ลูกค้าอ่านง่าย มีลูกเล่นที่แตกต่างไปจากการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ตัวอย่าง เช่น BigCard , TescoLotus , PayPal , AsiaBooks , EssoSmiles , KingPower
3). เน้นความคลาสสิค ด้วยการเขียนแบบเบสิค :
การเขียนแบบเบสิค ก็คือ ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ แล้วตามด้วยตัวเล็กทั้งหมด สำหรับชื่อแบรนด์ วิธีนี้ให้อารมณ์ที่ดูแล้วเรียบง่าย แต่มีฟิลลิ่งของความคลาสสิคแฝงอยู่ในชื่อของแบรนด์ เหมาะกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดู น่าเชื่อถือ เช่น Areeya , Serenade , Thanachart , Google
4). แบบผสมผสาน สร้างอารมณ์เร้าใจ :
การเขียนชื่อ Sender Name แบบนี้ ทำให้ลูกค้าเห็นปุ๊บ สะดุดตาปั๊ป เหมาะกับชื่อที่ต้องการเน้นคำ แล้วใช้ประโยชน์จากการเน้น ตัวอักษรใหญ่ เล็ก สลับกัน จุดเด่นของการผสมผสานคือ เพื่อให้สะดุดตา ดูมีความเคลื่อนไหว ดูกระฉับกระเฉง เช่น BIGcola, KBank, TrueMoveH, mPAY, Aspace.ME